Menu
คะแนน

ร้านอาหารรักษ์โลก และร้านอาหารที่ปรับตัวสู่ความยั่งยืนกำลังเป็นที่นิยมขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากร้านอาหารเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก แม้จะเป็นไปด้วยความไม่ได้ตั้งใจ แต่การดำเนินการบางรูปแบบภายในอุตสาหกรรม ก็ก่อให้เกิดปัญหา เช่น ขยะอาหารและขยะพลาสติก การปรับตัวอย่างรักษ์โลกจึงเป็นทางออกที่ร้านอาหารกำลังมองหา

นอกจากนี้ เรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคกำลังตระหนักรู้มากขึ้น เทรนด์การยอมจ่ายเพื่อสินค้ารักษ์โลก และวิถีการรับประทานแบบรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างแบบแนวทาง Plant-Based ก็กำลังเติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยเช่นกัน เวลานี้จึงถือเป็นโอกาสอันดีในการสร้างการเปลี่ยนแปลงของร้านอาหาร

วันนี้ยูนิลีเวอร์ ฟู้ด โซลูชั่นส์ ชวนผู้ประกอบการทุกคนมาหาคำตอบและแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลง ด้วย 5 สถิติที่ชี้ชัดว่าทำไมร้านอาหารรักษ์โลกกำลังมาแรง และถึงเวลาแล้วที่ร้านอาหารควรปรับตัวเพื่อความยั่งยืนเพื่อช่วยโลกและตอบโจทย์ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป

1. Food Waste

1. 64% ของขยะในไทยคือขยะอาหาร

ขยะอาหารคือปัญหาเร่งด่วนที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ผลสำรวจจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) พบว่าในปี 2017 กว่า 64 เปอร์เซ็นต์ของขยะในไทยคือขยะอาหาร และยังมีสถิติเพิ่มเติมอีกว่า 1 ใน 3 ของอาหารทั่วโลกต่อปี ได้ถูกทิ้งให้กลายเป็นขยะอาหาร  ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อนั้นน่าเป็นห่วงมาก  เนื่องจากขยะอาหารคือส่วนสำคัญที่สร้างก๊าซเรือนกระจกกว่า 8 เปอร์เซ็นต์ต่อปี

ผู้ประกอบการสามารถร่วมด้วยช่วยกัน ปรับตัวเป็นร้านอาหารที่รักษ์โลกมากขึ้น ลดอาหารเหลือที่จะกลายเป็นขยะได้ ด้วยการปรับใช้วิธีการปรุงอาหารตามแนวทางในบทความ เทคนิคการลดขยะอาหาร (Food waste) ครบวงจร ตั้งแต่ปรุงจนเสิร์ฟแบบ Zero-waste cooking และศึกษาวิธีจัดการขยะอาหารอย่างถูกวิธี เช่น การหาทางแปรรูปนำไปทำปุ๋ย นำไปเลี้ยงสัตว์ หรือนำไปเพาะปลูกใหม่ ในบทความ จัดการขยะอาหารด้วย 7 วิธีง่ายๆ ให้ไปต่ออย่างยั่งยืน

2. Recycling

2. มีเพียงแค่ 2% ของขยะอาหารเท่านั้นที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้

นอกจากสถิติเรื่องจำนวนและผลกระทบของขยะอาหารในข้อแรกแล้ว สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ยังมีรายงานว่ามีเพียง 2 เปอร์เซ็นต์ของขยะอาหารเท่านั้นที่ได้รับการนำไปรีไซเคิล เนื่องจากประเทศไทยไม่มีการใช้ระบบแยกขยะอย่างจริงจังที่จะช่วยนำขยะสู่กระบวนการรีไซเคิล ส่วนที่ไม่ถูกนำไปรีไซเคิลก็จะต้องเข้าสู่กระบวนการฝังกลบ ซึ่งจะเพิ่มภาวะเรือนกระจกจากการย่อยสลายที่คายก๊าซมีเทนออกมา

ในส่วนของการลดขยะอาหารที่กำจัดไม่ได้ ผู้ประกอบการสามารถหาวิธีการใช้ทุกส่วนของอาหารให้เกิดประโยชน์ไม่ให้เกิดอาหารเหลือ เช่น การนำคางกุ้งมาทอดกรอบ สร้างสรรค์เมนูใหม่ สามารถหาไอเดียในการทำอาหารจากวัตถุดิบเหลือทิ้งได้ที่บทความ ไอเดียเมนูสุดสร้างสรรค์จากวัตถุดิบเหลือทิ้ง

3. Food industry

3. อุตสาหกรรมอาหารของไทยอาจสร้างขยะพลาสติกกว่า 55,260 ตันในปี 2022

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่า ภายในปี 2022 อุตสาหกรรมอาหารของไทยอาจสร้างขยะพลาสติกกว่า 55,260 ตัน ซึ่งอาจนำไปสู่การสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กว่า 331,560 ตัน ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชั้นบรรยากาศอย่างมาก

ผู้ประกอบการสามารถเป็นอีกแรงในการลดพลาสติกได้ด้วยการหันมาใช้บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก เช่น บรรจุภัณฑ์จากกระดาษคราฟต์ กระดาษลูกฟูก หรือการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ซ้ำได้ เช่น แก้วส่วนตัว หรือปิ่นโต อ่านเพิ่มเติมเรื่องบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกได้ที่บทความ ไอเดียการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก คงความอร่อย เพื่อความยั่งยืน

4. Sustainable restaurant

4. ผู้บริโภคกว่า 50% ยอมจ่ายมากขึ้น เพื่อสินค้าและบริการที่รักษ์โลก

มาดูสถิติที่ชี้ให้เห็นว่าเทรนด์ของผู้บริโภคกำลังเปลี่ยนแปลงไปกันบ้าง ในปี 2021 ที่ผ่าน ศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงานว่า จากผลสำรวจของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่าผู้บริโภคกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ยอมจ่ายเงินมากขึ้นเพื่อสินค้าและบริการที่รักษ์โลกและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในราคาที่เพิ่มขึ้นไม่เกิน 20 เปอร์เซ็นต์จากราคาปกติ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าทุกคนเริ่มตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการอุดหนุนกิจการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อร่วมเป็นอีกแรงที่สร้างความยั่งยืน

ผู้ประกอบการร้านอาหารสามารถปรับตัว เปลี่ยนร้านของเราให้รักษ์โลกมากขึ้นเพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค เพื่อไปต่อได้ในยุคที่ความยั่งยืนเป็นเรื่องสำคัญ ตั้งแต่การลดขยะอาหาร ลดบรรจุภัณฑ์พลาสติก เปลี่ยนรูปแบบเมนู ไปจนถึงประหยัดพลังงานภายในร้าน อ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ10 วิธี ช่วยร้านอาหารปรับตัวสู่ความยั่งยืน

5. ตลาดเนื้อจากพืชและการรับประทานพืชเป็นหลัก (Plant-Based) ของไทยจะเติบโตกว่า 10% ต่อปี ในปี 2019-2024

สถิติจากศูนย์วิจัยธนาคารกรุงไทยรายงานกว่าตลาดของเนื้อจากพืชและการรับประทานพืชเป็นหลัก อย่าง Plant-Based ในไทยจะเติบโตกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ในปี 2019-2024 ซึ่งการหันมารับประทานอาหาร Plant-Based นั้นครอบคลุมตั้งแต่การรับประทานเนื้อจากพืช ซึ่งคือเนื้อเทียมที่ใช้โปรตีนจากพืช และแปรรูปให้มีรสชาติและผิวสัมผัสใกล้เคียงกับเนื้อ หรือการเน้นรับประทานผักเป็นหลัก ซึ่งเป็นวิถีที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดก๊าซมีเทนจากการทำปศุสัตว์ ช่วยเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกพืชที่ทำให้หน้าดินกลับมาอุดมสมบูรณ์ และลดน้ำเน่าเสียได้

ผู้ประกอบการร้านอาหารสามารถเริ่มต้นออกแบบเมนู Plant-Based มาเพื่อตอบโจทย์เทรนด์นี้ได้ เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ เพิ่มยอดขาย และช่วยเหลือสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ลองหาไอเดียใหม่ ๆในการออกแบบเมนู Plant-Based ได้ที่บทความ Plant-Based Food เมนูเนื้อจากพืช อาหารจากพืช คืออะไร

กสถิติเหล่านี้ได้ชี้ให้เราเห็นว่าการผลกระทบจากอุตสาหกรรมอาหาร และเปลี่ยนแปลงของตลาดในครั้งนี้เป็นโอกาสทองที่เราจะปรับตัวสู่ความยั่งยืน ที่นอกจากจะช่วยโลกได้แล้ว ยังตอบโจทย์เทรนด์ของผู้บริโภคอีกด้วย

โลกกำลังส่งเสียงร้องขอความช่วยเหลือให้ทุกคนในโลกหันมาร่วมด้วยช่วยกันฟื้นฟูโลกของเราให้กลับมาแข็งแรงอย่างยั่งยืน มาร่วมขับเคลื่อนไปพร้อม ๆ กับเรา เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเส้นทางการปรับตัวสู่ความยั่งยืนของยูนิลีเวอร์ ฟู้ด โซลูชั่นส์ได้ที่ 

หน้าหลัก
เมนู
สั่งสินค้า
รถเข็น
เมนูอาหาร