กำลังโหลด
หลายคนอาจคิดว่า ถ่ายรูปอาหารให้น่ากินต้องใช้กล้องแพง ๆ หรืออุปกรณ์มืออาชีพ แต่ความจริงแล้ว ใช้แค่ "มือถือ" และเทคนิคพื้นฐานเรื่องแสง มุม และองค์ประกอบ เท่านั้น ก็สามารถถ่ายจานธรรมดาให้ดูพรีเมียมได้แล้ว สิ่งที่สำคัญไม่ใช่กล้อง… แต่คือ "สายตาและความตั้งใจ" ต่างหาก
1) แสงธรรมชาติคือหัวใจ
การถ่ายภาพโดยใช้แสงธรรมชาติ ควรใช้แสงที่ไม่สว่างจ้าจนเกินไป อาจเลือกจากการจัดวางอาหารให้อยู่บนโต๊ะริมหน้าต่าง เพื่อให้แสงธรรมชาติสาดลงมาที่อาหาร ดูเป็นธรรมชาติ และควรหลีกเลี่ยงการใช้แฟลช เพราะทำให้อาหารดูไม่มีมิติ
● หามุมใกล้หน้าต่าง ใช้แสงธรรมชาติ
● แสงแดดอ่อนตอนเช้าหรือแสงแดดเย็นก่อนพระอาทิตย์ตกคือช่วงเวลาทอง
● หลีกเลี่ยงแสงหลอดไฟที่จะทำให้ภาพเหลือง ไม่สมจริง
2) เลือกมุมให้เหมาะกับเมนู
อาหารที่น่ารับประทาน จะมีวัตถุดิบหลักโดดเด่นออกมาเสมอ ซึ่งในแต่ละเมนู ควรเลือกใช้มุมที่แตกต่างกันออกไป ก่อนถ่ายภาพจึงควรจัดจานให้วัตถุดิบหลักเด่นขึ้นมามากกว่าปกติ และเลือกมุมที่เหมาะกับเมนูนั้น ๆ
● มุมบน (Top View) เป็นมุมที่เน้นสีสันละรูปทรงของอาหาร จะเหมาะกับจานที่มีลวดลาย เมนูที่ต้องการให้เห็นรายละเอียดบนจานครบทั้งหมด เช่น ข้าวหน้าต่าง ๆ หรือขนม
● มุม 45 องศา ใช้กับเมนูที่มีเลเยอร์หรือมีมิติ เช่น แซนด์วิช เบอร์เกอร์
● มุมสายตา (Eye Level) เหมาะกับเครื่องดื่ม หรือเมนูที่อยากโชว์ความสูงของเมนู เช่น แก้วกาแฟ พาร์เฟต์
3)จัดจานให้ดู “มีชีวิต”
ทำให้อาหารไม่โดดเดี่ยว การเพิ่มองค์ประกอบของภาพนอกเหนือจากอาหาร หรือการเพิ่มแบบ อยู่ในภาพร่วมกับอาหาร จะทำให้ภาพดูเป็นธรรมชาติ ดูไม่แข็ง แต่ต้องไม่เซ็ตจนเกินไป เพื่อเพิ่มชีวิตชีวาให้กับภาพ
● ใช้เครื่องเคียงหรือส่วนผสมของเมนูมาเป็นพร็อพ เช่น เมนูสเต๊กเนื้อ อาจเลือกใช้ถ้วยซอส หรือขวดเกลือ ขวดพริกไทย วางเป็นพร็อพ
● พร็อพอื่น ๆ ที่ช่วยให้ภาพดูมีชีวิต ชีวา เช่น ผ้า ช้อน ต้นไม้เล็ก ๆ แต่ต้องไม่เด่น หรือสีสันฉูดฉาดจนเกินไป
● ท่าทางในในการถ่ายร่วมกับอาหา เช่น ภาพคนนั่งร่วมโต๊ะอาหาร ภาพมือกำลังคีบหรือตักอาหาร ภาพคนชนแก้ว ภาพคนยกจานอาหาร
4)พื้นหลังต้องไม่แย่งซีน
ฉากหลังที่ดี คือตัวช่วย ไม่ใช่ตัวเด่น การเลือกใช้แบ็คกราวด์ ก็มีส่วนช่วยให้รูปอาหารดูน่าทานมากขึ้น แต่พยายามอย่าให้แบ็คกราวน์ดูโดดเด่น หรือมีสีที่สดมากเกินไป เพราะทำให้แย่งซีนอาหารที่เราต้องการจะถ่ายและทำให้อาหารของเราหลืนกับพื้นหลังได้
● พื้นหลังธรรมชาติ เช่น เลือกใช้บรรยากาศของในร้าน แต่ต้องไม่กวนสายตา หรือรกจนเกินไป
● ใช้พื้นหลังไม้ หรือผ้า ควรเลือกที่เป็นพื้นเรียบ ๆ โทนอบอุ่นหรือธรรมชาติ ไม่สีสัน
● หลีกเลี่ยงลายเยอะหรือสีฉูดฉาด เป็นพื้นหลังที่คุมได้ยาก และจะทำให้ภาพดูรก
5)แต่งภาพได้ แต่ต้องพอดี
ในการถ่ายภาพให้ดูน่ารับประทาน ต้องคำนึงถึงคุณภาพของภาพด้วย ต้องมีความคมชัด สีสด และตรงกับความเป็นจริง ไม่แต่งสีให้หลอกตาเกินไป เพราะจะทำให้ภาพดูไม่เป็นธรรมชาติ และไม่น่าทาน ไม่สมจริง
● หลีกเลี่ยงฟิลเตอร์แรง ๆ เพราะจะเปลี่ยนสีอาหารจนดูไม่เหมือนจริง
● ใช้แอปแต่งภาพเบา ๆ เช่น Lightroom, Snapseed, VSCO แต่งแต่พอดี อย่างการปรับความสว่าง ความสด
เคล็ด(ไม่)ลับเพิ่มเติม:
● ถ่ายอาหารตอนยังร้อน มีไอน้ำลอยขึ้น จะดูน่ากินขึ้นมาก
เมนูที่ควรระวังเป็นพิเศษ เมนูประเภทเส้น เมนูประเภทเนื้อ และเมนูประเภทครีมซอส / ซุป เมนูเหล่านี้เป็นเมนูที่ต้องรีบถ่ายขณะที่ยังร้อน เพราะหากอาหารเย็นตัว จะดูไม่น่ารับประทาน
● อย่าลืมเช็ดจานให้สะอาดก่อนถ่าย รูปจะดูเป๊ะขึ้นหลายเท่า
การถ่ายอาหารให้น่ากิน ไม่จำเป็นต้องมือโปรหรือใช้อุปกรณ์แพง ๆ ขอแค่คุณมีแสงดี มุมที่ใช่ มีความตั้งใจ และสายตาแบบคนรักอาหาร แค่นี้ก็เพียงพอจะเปลี่ยน "จานธรรมดา" ให้กลายเป็น "ภาพจานที่ใครเห็นก็อยากกิน" ได้แล้ว
อ้างอิง
8 เทคนิค ถ่ายภาพอาหาร ลูกค้าเห็นแล้วอยากจองทันท
7 เทคนิค ถ่ายรูปโปรโมทอาหารในร้านอย่างไรให้ดูน่ากิน
กลับสู่ กลยุทธ์การตลาดร้านอาหาร
เลือกเครื่องหมายแบ่งปันด้านล่าง และเลือกเพิ่มในหน้าแรก เลือกเครื่องหมายแบ่งปันด้านบน และเลือกเพิ่มในหน้าแรก เลือกเครื่องหมายแบ่งปันด้านล่าง และเลือกเพิ่มในหน้าแรก เลือกเครื่องหมายแบ่งปันด้านล่าง และเลือกเพิ่มในหน้าแรก