Menu
คะแนน

ในการปรุงอาหาร เรามักจะใช้ผักที่นิยมหลายชนิดเป็นส่วนประกอบของวัตถุดิบ เพราะผักมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและยังช่วยเพิ่มกลิ่น เพิ่มรสชาติ และสีสันให้เมนูอาหารได้หลากหลาย แต่ผักก็เป็นสิ่งที่เหี่ยวเฉาไว ทำให้เรามักมีผักเหลือทิ้งเป็นขยะอาหารอยู่ตลอดเวลา เกิดเป็นปัญหาขยะอาหาร (food waste) ซึ่งเป็นปัญหาระดับโลก เราจึงมีเคล็ดลับดีๆ มาฝากเพื่อช่วยยืดอายุผักสดคู่ครัว รวมทั้งผักในเมนูยอดฮิตอย่างส้มตำให้สามารถเก็บไว้ได้นานๆ เพื่อเป็นการลดขยะอาหารได้ดีวิธีหนึ่ง

5 ผักยอดฮิตคู่ครัวและวิธีเก็บรักษาให้อยู่ได้นานๆ

1. มะนาว (เก็บได้ 3-4 วันในอุณหภูมิห้อง และ 4-10 วันหากใช้เคล็ดลับนี้)

1. มะนาว (เก็บได้ 3-4 วันในอุณหภูมิห้อง และ 4-10 วันหากใช้เคล็ดลับนี้)

  • แนะนำให้เลือกซื้อมะนาวที่มีลูกสีเขียว จะเก็บได้นานกว่า
  • เก็บในถุงพลาสติกที่มีรูเล็กๆ หลายๆ รูให้อากาศเข้าได้บ้าง
  • อีกหนึ่งทางเลือกคือการใช้ ผงรสมะนาว ตราคนอร์ ที่ทำจากมะนาวแป้นแท้ ผงรสมะนาว 1 ถุง (400 กรัม) เทียบเท่ากับมะนาว 135 ลูก (1.5 ลิตร) รสชาติเปรี้ยวคงที่ทุกฤดูกาล และมีอายุหลังเปิดใช้อยู่ที่ 9 เดือน (เฉพาะขนาด 400 กรัม) เป็นการลดขยะอาหารด้วย

2. ถั่วงอก (ปกติถ้าไม่ได้ใช้ทำอาหารทันที ถั่วงอกจะเริ่มดำเหี่ยวเน่า แต่หากใช้เคล็ดลับนี้จะเก็บได้นานกว่า 7 วัน)

2. ถั่วงอก (ปกติถ้าไม่ได้ใช้ทำอาหารทันที ถั่วงอกจะเริ่มดำเหี่ยวเน่า แต่หากใช้เคล็ดลับนี้จะเก็บได้นานกว่า 7 วัน)

  • นำถั่วงอกไปล้างน้ำเปล่าให้สะอาด
  • ใส่ลงไปในขวดโหล หรือถ้วยทรงสูง แล้วจึงเทน้ำสะอาดลงไปให้ท่วม
  • หยดน้ำส้มสายชูลงไปเล็กน้อย
  • ปิดฝาภาชนะ แล้วนำเข้าแช่ในตู้เย็น

เคล็ดลับ

  • การนำถั่วงอกแช่น้ำลงในโหล จะทำให้ลดการสูญเสียน้ำของถั่วงอก ทำให้ไม่เหี่ยวดำ และไม่สัมผัสกับอากาศ และถั่วงอกไม่ทับกันช้ำ
  • น้ำส้มสายชูจะช่วยทำให้ถั่วงอกมีสีขาวสด และคงความกรอบเอาไว้ได้ และยืดอายุของการเก็บถั่วงอกไว้ได้นานขึ้น

3. กลุ่มพืชสมุนไพรอย่าง ขิง ข่า ตะไคร้ (เก็บได้มากกว่า 1 สัปดาห์หากใช้เคล็ดลับนี้)

3. กลุ่มพืชสมุนไพรอย่าง ขิง ข่า ตะไคร้ (เก็บได้มากกว่า 1 สัปดาห์หากใช้เคล็ดลับนี้)

ล้างให้สะอาด ฝานเป็นชิ้นๆ สำหรับนำไปใช้ ผึ่งให้แห้งสนิท จากนั้นเก็บในถุงซิปล็อก นำไปแช่ตู้เย็น

4. แตงกวา ฟักเขียว น้ำเต้า (เก็บได้ 3-5 วันในอุณหภูมิห้อง และ 4-10 วันหากใช้เคล็ดลับนี้)

4. แตงกวา ฟักเขียว น้ำเต้า (เก็บได้ 3-5 วันในอุณหภูมิห้อง และ 4-10 วันหากใช้เคล็ดลับนี้)

  • ใช้ผ้าชุบน้ำหมาด ๆ ห่อไว้ข้างนอกตู้เย็น ส่วนถ้าจะแช่ในตู้เย็นให้นำกระดาษห่อไว้ ไม่ควรปอกเปลือก และไม่ต้องทำการล้าง

5. กะหล่ำปลี (เก็บได้ 3-4 วันในอุณหภูมิห้อง และ 7-10 วันหากใช้เคล็ดลับนี้)

5. กะหล่ำปลี (เก็บได้ 3-4 วันในอุณหภูมิห้อง และ 7-10 วันหากใช้เคล็ดลับนี้)

  • เด็ดใบไม้และก้านออกให้หมด รวมถึงกะหล่ำปลีรอบนอกที่เริ่มช้ำ จากนั้นนำไปห่อด้วยพลาสติกแรปประมาณ 2-3 ชั้น จากนั้นนำไปแช่ไว้ในช่องแช่ผักในตู้เย็น

เรามาดูตัวอย่างเมนูยอดนิยมอย่างส้มตำสุดแซ่บ และวิธีรักษาวัตถุดิบให้อยู่ได้นานๆ

ส่วนผสมหลักๆ ในการทำส้มตำ นอกจากมะนาวแล้ว ก็ยังมี มะละกอ มะเขือเทศ กระเทียม พริก และถั่วฝักยาวหั่นท่อน ที่เรามีวิธีเก็บรักษาที่ถูกต้องมาฝาก เพื่อช่วยลดขยะอาหาร ดังนี้

ส่วนผสมหลักๆ ในการทำส้มตำ นอกจากมะนาวแล้ว ก็ยังมี มะละกอ มะเขือเทศ กระเทียม พริก และถั่วฝักยาวหั่นท่อน ที่เรามีวิธีเก็บรักษาที่ถูกต้องมาฝาก เพื่อช่วยลดขยะอาหาร ดังนี้

  • มะเขือเทศ หากเก็บไว้ในอุณหภูมิห้อง ให้นำมะเขือเทศคว่ำหน้าลง ไม่วางทับซ้อนกัน และหลีกเลี่ยงแสงแดด แต่หากเก็บไว้ในตู้เย็น ให้นำไปเก็บไว้ในถุงซิปล็อคที่แห้งสนิท และไม่ใส่รวมกันจนแน่นเกินไป ความเย็นจะช่วยล็อคให้มะเขือเทศสดได้นานขึ้น
  • มะละกอ นำมะละกอดิบไปล้างในน้ำผสมน้ำส้มสายชูเจือจางแล้วซับให้แห้ง แล้วนำเข้าเครื่องดูดสูญญากาศ เพื่อให้ดูดอากาศและความชื้นออกไปจนหมด ปกป้องเนื้อมะละกอไม่ให้เกิดการคายน้ำ เพื่อคงความกรอบและสด รวมถึงผิวมะละกอยังคงดูขาวสดเหมือนเดิม ไม่เหี่ยวเฉาดำคล้ำ
  • กระเทียม พริก ตัดขั้วพริกออก ล้างให้สะอาดและสะเด็ดน้ำ ส่วนกระเทียมให้ปอกและตัดขั้วที่แข็งๆ ออก ใส่ทั้งหมดลงเครื่องปั่นรวมกันให้ละเอียด จากนั้นนำใส่ถุงซิปล็อก แผ่ให้เป็นแผ่นแบนๆ นำเข้าช่องแช่แข็ง เวลาจะใช้สามารถหักออกมาเป็นก้อนๆ ได้ง่าย สามารถใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ละลายก่อน วิธีนี้จะเก็บได้นานหลายเดือนโดยที่กลิ่นและรสชาติยังดีเหมือนเดิม
  • ถั่วฝักยาว ล้างทำความสะอาดและผึ่งลม นำกะละมังใส่น้ำและแกว่งสารส้มให้น้ำใส แช่ถั่วฝักยาวลงไป 5-10 นาที นำขึ้นและผึ่งให้แห้ง จากนั้นห่อด้วยกระดาษและนำไปแช่ตู้เย็น ฝักจะดูยาวตรงและสดกรอบ ดูเหมือนเพิ่งเก็บมาใหม่ๆ

เหล่านี้เป็นเคล็ดลับที่ช่วยให้ร้านอาหารสามารถเก็บรักษาวัตถุดิบอาหารให้ได้นานที่สุด ไม่เสียของ ลดต้นทุนในการจับจ่ายวัตถุดิบ ซึ่งเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่ควรทำร่วมไปกับการกำจัดขยะอาหารอย่างถูกต้อง อันจะนำไปสู่ความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเส้นทางการปรับตัวสู่ความยั่งยืนของยูนิลีเวอร์ ฟู้ด โซลูชั่นส์ได้ที่

หน้าหลัก
เมนู
สั่งสินค้า
รถเข็น
เมนูอาหาร